การตรวจหาความผิดปกติของทารกจากเลือดแม่ ( Non-invasive prenatal testing;NIPT )
แต่เดิมการตรวจทางพันธุกรรมในทารกอย่างแน่ชัดและแม่นยำที่สุดคือการทำหัตถการที่ลุกล้ำ เช่น การเจาะน้ำคร่ำ หรือตัดชิ้นเนื้อรกตรวจ ซึ่งมีโอกาสแท้งประมาณ 0.1-0.3% และ 0.5% ตามลำดับ ในเดือน ตุลาคม 2011 สหรัฐอเมริกาได้นำวิธีการตรวจ NIPT มาใช้โดยอาศัยหลักการของเซลล์ของทารกที่แตกล่องลอยในกระแสเลือดมา (cffDNA) มาตรวจคัดกรองหาความผิดปกติของทารก คือภาวะ ดาวน์ซินโดรม cffDNA แตกมาจากรก และปริมาณจะมากขึ้นตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น และถูกขับออกจากกระแสเลือดแม่อย่างรวดเร็วเพียง 16 นาทีหลังคลอด
กลุ่มอาการดาวน์คืออะไร
คืออุบัติเหตุทางธรรมชาติที่มีความผิดปกติทางด้านพันธุกรรม ที่ทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อนหรือการพัฒนาด้านสติปัญญาช้า มีลักษณะจำเพาะของรูปร่างภายนอก มีอวัยวะพิการแต่กำเนิด และมีปัญหาทางสุขภาพและโรคทางกายอื่น ๆ โดยเกิดจากการมีสารพันธุกรรมของโครโมโซมคู่ที่ 21 หรือจำนวนโครโมโซมคู่ที่ 21 เกิน โดยความเสี่ยงนี้จะมากขึ้นตามอายุมารดาที่เพิ่มขึ้น โดยพบว่า มารดาที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป พบภาวะดาวน์ 1: 250 อายุ 40 ปีขึ้นไป พบได้ 1:100 โดยหญิงตั้งครรภ์ทุกราย มีโอกาสมีลูกเป็นดาวน์ 1:850
ความพิการที่พบได้ในกลุ่มอาการดาวน์
- ด้านสติปัญญาและการเติบโตจะช้ากว่าเด็กปกติ
- ภาวะหัวใจและหลอดเลือด เช่น ภาวะผนังกั้นห้องหัวใจรั่ว
- ภาวการณ์มองเห็นและการได้ยิน เช่น ภาวะต้อกระจก
- ภาวะทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้ตีบ
- ภาวะต่อมไร้ท่อและระบบภูมิคุ้มกัน เช่นไทรอยด์ต่ำ เป็นต้น
ที่มา : Center of Disease control and prevention
เมื่อไรจึงจะตรวจพบ DNA ของลูกในเลือดแม่
ที่ 10 สัปดาห์จะพบได้ 3-13% อาจทำได้เร็วที่สุดที่ 9 สัปดาห์
ใช้ตรวจสำหรับครรภ์แฝดได้หรือไม่
ได้ภายใต้ข้อจำกัดและเงื่อนไข เช่น แฝดเป็นรกร่วม หรือ รกแยก หากผลตรวจ NIPT เป็นบวก อาจไม่สามารถบอกได้ว่า ทารกคนใดผิดปกติ แต่หากผลตรวจเป็นปกติ ก็สามารถทำให้มารดาสามารถหลีกเลี่ยงการทำหัตถการที่ลุกล้ำ เช่น การเจาะน้ำคร่ำได้ เนื่องจาก NIPT มีความไวและความจำเพาะสูง (high sensitivity and specificity)
การตรวจคัดกรองนี้สามารถแทนที่การเจาะน้ำคร่ำได้หรือไม่
ไม่ได้ !!! การเจาะน้ำคร่ำยังคงถือเป็นการตรวจวินิจฉัยขั้นสุดท้าย การเจาะ cell-free DNA เป็นเพียงการคัดกรองเท่านั้น หากผลคัดกรองตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ยังคงต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยันต่อไป
สำหรับการตรวจ NIPT ที่คลินิกแพทย์หญิงราตรี ส่งตรวจยังสถาบันการแพทย์ระดับประเทศ คือ Thai NIPT โดยความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ รพ. รามาธิบดี ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร
ค่าตรวจสำหรับ NIPT ทุกโครโมโซม ในครรภ์เดี่ยว 11,000 บาท ครรภ์แฝด 15,000 บาท
ผลตรวจใช้เวลารายงาน 10-14 วัน
มีโครงการรับประกันผล Thai NIPT
กรณีผลเป็นความเสี่ยงสูง
- ช่วยเหลือค่าเจาะน้ำคร่ำ ไม่เกิน 12,000 บาท ในครรภ์เดี่ยว
- ไม่เกิน 20,000 บาท ในครรภ์แฝด
กรณีผลตรวจเป็นความเสี่ยงต่ำ ในกลุ่ม trisomy 13, 18 และ 21
- ได้รับการวินิจฉัยก่อนคลอดว่า ทารกในครรภ์มีสภาวะดังกล่าว จะได้รับเงินชดเชย 100,000 บาท
- ได้รับการวินิจฉัยหลังคลอดภายใน 1 ปี ว่ามีสภาวะดังกล่าว ได้รับเงินชดเชย 2,000,000 บาท