กระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว
(In vitro fertilization-IVF/ Intracytoplasmic sperm injection-ICSI)
IVF หรือ ICSI คืออะไร ใช่ GIFT ไหม เคยได้ยินบ่อยๆ คนไทยชอบพูด ไปทำกิ๊ฟ
GIFT ย่อมาจาก Gamete intrafallopian transfer
คือการนำเซลล์สืบพันธุ์ซึ่งก็คือ ไข่ กับ อสุจิ ฉีดกลับเข้าไปภายในท่อนำไข่ของฝ่ายหญิง
ดังนั้นการปฏิสนธิจึงยังเกิดภายในร่างกายของมนุษย์
เนื่องจากแต่ก่อนนักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีความรู้ความชำนาญในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนนอกร่างกายเช่นในปัจจุบัน
มักใช้ในรายที่ฝ่ายชายมีอสุจิน้อยหรือไม่ค่อยว่าย ปัจจุบันไม่มีการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวแล้ว
ZIFT ย่อมาจาก Zygote intrafallopian transfer
เป็นกระบวนการที่คล้ายคลึงกับ GIFT แต่พัฒนาขึ้นมาอีกขั้นคือ
การนำตัวอ่อนระยะ Zygote ซึ่งเกิดจากการปฏิสนธินอกร่างกายของไข่กับอสุจิแล้วฉีดกลับไข่ไปในท่อนำไข่ด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic surgery)
ปัจจุบันก็ไม่มีการรักษาด้วยกระบวนการ ZIFT แล้วเช่นกัน
เนื่องจากเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
จึงนำมาสู่กระบวนการ In vitro fertilization (IVF) นั่นเอง
IVF ย่อมาจาก In vitro fertilization; in vitro หมายถึง ในหลอดทดลอง fertilization คือการปฏิสนธิ
โดยรวมจึงหมายถึง เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
โดยการนำเซลล์สืบพันธุ์คือ เซลล์ไข่และอสุจิ มาปฏิสนธินอกร่างกายในหลอดทดลอง
โดยปล่อยให้อสุจิผสมกับไข่เองเหมือนในธรรมชาติ และย้ายตัวอ่อนกลับคืนเข้าสู่โพรงมดลูกในระยะเวลาที่เหมาะสม
โดยวิธี IVF นี้ประสบความสำเร็จครั้งแรกในโลกที่ประเทศอังกฤษ
โดยสามารถให้กำเนิดทารกคนแรกในโลกชื่อ Louise Joy Brown ในวันที่ 25 กรกฎาคม ปี 1978
ในปี 1991 กระบวนการ ICSI ก็ประสบความสำเร็จโดยมีการให้กำเนิดทารกคนแรกจากกระบวนการนี้
กระบวนการ ICSI ย่อมาจาก Intracytoplasmic sperm injection
คือการใช้เข็มขนาดเล็กที่มีอสุจิบรรจุอยู่ แทงเข้าไปในของเหลวของเซลล์ไข่ และทิ้งอสุจินั้นไว้ในไข่
จากนั้นเพาะเลี้ยงเซลล์ดังกล่าวภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การปฏิสนธิและการแบ่งเซลล์
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ก็ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่นในปี 1993
มีทารกที่เกิดจากกระบวนการ IVF ที่นำอสุจิจากมากระบวนการเจาะอัณฑะ (testicular sperm extraction)
ในปี 1997 มีทารกที่เกิดจากกระบวนการใช้เซลล์ไข่แช่แข็ง
ปี 2001 มีการใช้เทคโนโลยีตรวจคัดกรองพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (PGD)
เพื่อเลือกตัวอ่อนที่มี HLA match เพื่อใช้ในกระบวนการช่วยรักษาโรค
และในปี 2004 มีการให้กำเนิดทารกจากการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อรังไข่แช่แข็งกลับคืนสู่คนไข้รายเดิมได้สำเร็จ
จะเห็นได้ว่ากระบวนการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
ไม่เพียงแต่จำช่วยคู่สมรสในรายที่มีปัญหาเช่น ท่อนำไข่ตัน หรือ อสุจิผิดปกติเท่านั้น
แต่ก็ยังมีประโยชน์ทางการแพทย์อื่นๆเช่น
ตรวจคัดกรองโครโมโซมของตัวอ่อนในรายที่มีโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม
เช่น โรคฮีโมฟิเลีย โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย และ
ในบางรายที่ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงเป็นมะเร็งบางชนิด
ที่ต้องมีกระบวนการรักษาโดยการฉายแสงหรือเคมีบำบัด
ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการทำลายรังไข่หรืออัณฑะจนไม่มีเซลล์สืบพันธุ์หลงเหลือ
เทคนิคในการแช่แข็งเซลล์สืบพันธุ์ เช่น แช่แข็งอสุจิ แช่แข็งเซลล์ไข่ หรือ เนื้อเยื่อรังไข่จึงได้รับการพัฒนาขึ้น
ใครเหมาะกับกระบวนการ ICSI
- ฝ่ายหญิง
มีปัญหาท่อนำไข่ตัน เคยผ่าตัดท่อนำไข่ เคยทำหมันหญิง
มีอายุมาก ไข่ตั้งต้นเหลือน้อย กระตุ้นไข่ยาก
ไข่ไม่ตกเรื้อรัง
เคยผ่าตัดรังไข่ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
ทำ IUI ล้มเหลวหลายครั้ง
- ฝ่ายชาย
มีปัญหาอสุจิ มีปริมาณน้อย ไม่ค่อยว่าย รูปร่างหน้าตาผิดปกติ
มีท่อนำอสุจิตัน หรือไม่มีท่อนำอสุจิแต่กำเนิด
- ทั้งชายและหญิง
มีโรคทางพันธุกรรม ต้องการตรวจคัดกรองตัวอ่อนก่อนการฝังตัว
มีปัญหาทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงร่วมกัน
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา
- ปรึกษาเตรียมความพร้อม ซักประวัติตรวจร่างกายโดยแพทย์
- เจาะเลือดเตรียมความพร้อม ตรวจวิเคราะห์อสุจิ
- ตรวจความพร้อมของเอกสาร เช่น ทะเบียนสมรส
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ฝ่ายหญิง รับประทาน Folic acid 1 เดือนก่อนตั้งครรภ์
- งดเหล้า บุหรี่ สารเสพติด ก่อนเข้าสู่กระบวนการรักษา
ความประทับใจจากคนไข้ IVF
We recently welcomed our healthy baby boy into the world, thanks to the dedicated work and support of Dr. Ratree and her amazing team employing modern, cutting-edge IVF technology. For the three years we've known and worked with Dr. Ratree she has been professional, patient, and compassionate. We couldn't imagine having a more positive experience anywhere else. It is with great enthusiasm that we would recommend anyone looking for a world-class IVF clinic to consider Dr. Ratree and team. Thanks again Dr. Ratree!